การตั้งค่า Customize และ Toolbar ก่อนเริ่มงาน

ตั้งค่าก่อนเริ่มงาน...
ไปที่หน้าต่าง Customize บน Toobar



1. Custom UI and Defaults Switcher 
หลังลงโปรแกรม 3Dmax เสร็จ เราสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาของมันได้ตามใจชอบ
- เปิดหน้าต่าง Custom UI and Defaults Switcher ขึ้นมาจะเจอ ช่อง UI schemes มีให้เลือก 4 แบบ
- ชอบแบบไหนก็จัดไป (ตัวอย่างในบล๊อกนี้ใช้แบบ ame-light ครับ)
- เลือกได้แล้วก็กด Set ด้านล่าง



2. Configure Use Paths...
ปัญหาที่พบบ่อยในการใช้งานแรกๆ คือ 'แมพหาย'

แมพ คือตัว Bitmap หรือไฟล์ภาพที่เราใช้ใส่ในแมททีเรียล
อาทิ เช่นไฟล์ .jpg .png .psd  เป็นต้น 

ในส่วน Configure Use Paths มีไว้ให้โปรแกรมลิงค์ไปหา Bitmap ในโฟลเดอร์ที่เราเก็บไว้
ซึ่งมีไว้ก็เพื่อความสะดวกเวลาที่เรา merge เอาโมเดลเข้ามาใส่ในงาน
แมพโมเดลตัวนั้นๆ จะได้อยู่ครบสวยงามครับ

เทคนิคอีกอย่างกันอาการแมพหาย คือ
ใส่ภาพ Bitmap ที่ใช้ในซีนงานทั้งหมด เก็บไว้ในโฟลเดอร์เดียวกับไฟล์งาน 3dmax ครับ

วิธีใช้ Configure Use Paths

แถบ File I/O
ให้เลือกตามโฟลเดอร์นี้ก่อนครับ เป็นโฟลเดอร์หลักของโปรแกรม ซึ่งโดยปกติเมื่อลงโปรแกรมแล้วมันก็จะตั้งค่านี้มาให้เลย



แถบ External Files
กด 'Add' เพื่อเลือกโฟล์เดอร์ที่ต้องการให้โปรแกรมลิงค์กับ Bitmap

 
กด add มาแล้วจะเจอหน้าต่าง Choose New External Files Path ตามภาพด้านบน
1. ให้เลือกโฟลเดอร์โมเดล ที่เราต้องการให้โปรแกรมลิงค์ Bitmap
2. ติ๊ก Add Subpaths เพื่อให้โปรแกรมลิงค์กับ โฟล์เดอร์ย่อยในโฟลเดอร์นี้ทั้งหมด
3. กด Use Path


4.โฟลเดอร์ที่เลือกไว้จะเข้ามาสิงใน Configure Use Paths
5. หากต้องการเพิ่มโฟล์เดอร์ ก็กด Add และเลือกเหมือนเดิมไปตามพอใจ หรือหากไม่ใช้อันไหนก็ Delete ได้  ส่วน Modify นั้นเลือกเพื่อปรับเปลี่ยนโฟลเดอร์
เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็ OK เป็นอันจบครับ

หลังจากขั้นตอนข้างต้น เมื่อเรา merge โมเดลจากโฟลเดอร์ที่เราได้แอดไว้ใน External File แล้ว
ในทุกๆครั้งที่ merge เข้ามา โมเดลนั้นๆก็จะมี Bitmap ติดมาด้วย
เนื่องจากโปรแกรมได้ลิงค์อ่านไฟล์ Bitmap แล้วนั่นเองครับ...ทีนี้ก็จบปัญหาเรื่องแมพหาย !

3. Unit Setup

 
1. ส่วนแรก Display Unit Scale กำหนดหน่วยในการใช้งานพิมพ์ค่าพารามิเตอร์ในโมเดล แสง หรือ กล้อง อันนี้ก็แล้วแต่ถนัดครับ จะเลือกหน่วยแบบไหนก็ได้

 
2. System Unit Setup เป็นหน่วยหลักที่มีผลต่อการปรับแต่งค่าการใช้งานต่างๆในโปรแกรม
เช่น ค่าGrid ค่าคำนวนแสง  ฯลฯ โดยอาจใช้หน่วยเป็น เมตร, เซนติเมตร หรือ มิลลิเมตร ก็ได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับว่าต้องการความละเอียดของหน่วยนั้นๆมากแค่ไหน

คำแนะนำ
สำหรับ งานเขียนตีป Exterior อาจใช้หน่วย เมตร
สำหรับ งานเขียนตีป Interior อาจใช้หน่วย เซนติเมตร หรือ มิลลิเมตร ก็ได้
ยิ่งหน่วยเล็กลงการคำนวนของแสงก็จะเพิ่มขึ้นตามความละเอียดไปด้วย

4. Preferences


1. Genaral > Scene Undo 
- Levels... กรอกจำนวนที่ต้องการ Undo

 

2. File > Auto Backup
-Number... จำนวนที่ต้องการให้ไฟล์เซฟ auto
-Backup... ระยะเวลาที่ต้องการเซฟแต่ละรอบ


 
3. Viewports > Choose Driver... > Display Driver Selection
เรื่องการ์ดจอนี่เป็นเรื่องทางเทคนิค ส่วนนี้ผมไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นะครับ ขอเล่าที่ใช้งานจริงดีกว่า

ปกติจะเลือก Nitrous Direct3D 11 หมุนวิวพอร์ทเร็วดีครับ แต่บางงานถ้า polygon เยอะมากๆก็มีปัญหาเด้งออกเฉยๆเหมือนกัน
ถ้าเกิดปัญหานี้ ผมจะเปลี่ยนไปใช้ Legacy Direct 3D โดยอันนี้ตอนหมุนวิวพอร์ต มันอาจหนืดๆแต่ก็ยังสามารถทำงานได้ต่อครับ

การเลือก Display Driver ทั้งสองแบบ จะมีการตั้งค่าแสดงผลในค่าวิวพอร์ทที่ต่างกัน(ตามภาพด้านล่าง) โดยสามารถเข้าไปตั้งค่าการแสดงผลได้ใน Viewport Configuration 


Display แบบ Nitrous Direct3D 11 ดูการปรับค่าต่างๆใน Visual style & Appearance นาทีที่ 11.00


Display แบบ Legacy Direct 3D การปรับค่าโชว์วิวพอร์ทส่วนนี้ก็คล้ายกับแบบก่อนหน้านี้เช่นกัน ข้อควรระวังหากการ์ดจอไม่แน่จริง หรือซีนไฟล์ใหญ่มาก ก็ไม่ควรเลือกแบบ Scene Lights หรือ เลือกใช้ Enable Hardware Shading ไม่งั้นอาจมีค้างได้ครับ


 
4. Gamma and LUT  

เปิดใช้ Gamma 2.2 ใน 3Dmax 2014

การปรับ Parameter ส่วนอื่นที่สัมพันธ์กับ Gamma and LUT  
- Color Mapping  ใน Render Setup(F10) 
เปิดใช้ Gamma 2.2 ตามภาพ


- เปิดใช้ Frame Buffer



5. Customize User Interface...

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้สร้างชุดคำสั่ง เพื่อให้ตรงกับการใช้งานตามต้องการของเราเอง โดยมีส่วนที่น่าจะเป็นประโยชน์ 2 ส่วน ครับ คือ

1. Keyboard  สร้างคีย์ลัดให้คำสั่ง ในคีย์บอร์ด

วิธีทำ
1.ไปแถบ Keyboard
2. หาคำสั่งที่ต้องการ (ในตัวอย่างคำสั่ง Group) และ พิมพ์คีย์ลัดในคีย์บอร์ด ( Ctrl+G )
3. กดคำสั่งที่ต้องการ
4. กด Assign  คำสั่งที่ต้องการนั้นๆ จะปรากฏที่ Assigned to
5. อันนี้ไม่ต้องเซฟก็ได้ครับกดปิดได้เลย โดยส่วนเซฟนี้จะเป็นขั้นตอนหลังจากที่เราได้ปรับหน้าตาของ User Interface(UI) เรียบร้อยแล้ว  โดยสามารถเซฟได้ที่  Save Cutom UI Scheme ผมจะเขียนไว้ในขั้นตอนหลังจบ วิธีสร้าง Toolbar


2. Toolbar  สร้าง Toolbar ใช้เอง
วิธีทำ

1. กด New.. เพื่อสร้าง  เมื่อสร้างเสร็จ ชื่อทูลบาร์ที่เราสร้างจะเข้าไปในแถบด้านบน รวมกับทูลบาร์หลักๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็สามารถ Delete หรือ Rename


2. หน้าตาทูลบาร์หลังกด New พิมพ์ชื่อที่ต้องการ



3. หน้าต่างทูลบาร์ปรากฏตามที่ตั้งไว้
4. Group เลือก Main UI  ส่วน Category เป็นตัวเลือกย่อยของชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อให้สะดวกในการเลือกคำสั่ง
5. ลากคำสั่งที่ตามต้องการ หรือที่ใช้บ่อยๆ เข้าไปในทูลบาร์ที่สร้างไว้ได้เลย


6. จัดวางรวมกับทูลบาร์หลักตามสบาย
7. คลิ๊กขวาแถบว่างๆด้านบน เพื่อดู หรือ เลือกเปิด-ปิด ทูลบาร์
8. ทูลบาร์ที่สร้างมาอยู่รวมกับทูลบาร์หลักๆ เปิด-ปิด การใช้งานได้
จบ

Save Cutom UI Scheme
หลังจากปรับทั้งสองส่วนเสร็จแล้ว เราสามารถ UI เซฟเก็บไว้ เพื่อโหลดมาใช้ในการลงโปรแกรมครั้งต่อไปได้ โดยวิธีดังนี้

กด Save Cutom UI Scheme


เจอหน้าต่าง ให้ตั้งชื่อและเซฟในโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ 

 
เลือกทั้งหมด และกด OK เป็นอันจบ


และเมื่อลงโปรแกรมใหม่ให้ไปที่
Customize >  Load Custom UI Scheme > เลือกไฟล์ที่เซฟไว้ > หน้า UI Scheme เดิมก็จะกลับมาตามที่เราได้เคยปรับแต่งเอาไว้

เป็นอันว่าจบส่วน การตั้งค่า Customize และ Toolbar แล้วนะครับ
แต่มีวิธีการสร้าง Toolbar ด้านขวา(Command panel) อีกส่วนที่น่าจะมีประโยชน์ครับ

Configure Modifier Sets 
เป็นแถบ modifier ที่โปรแกรมเซตไว้แล้ว แต่สามารถเพิ่มหรือลดได้ตามต้องการ



กดรูปหน้าต่างเล็กๆ และ กด Configure Modifier Sets 


 
1. Sets เลือกชุด modifier ตามต้องการ
2. เพิ่มหรือลดจำนวนจากที่โปรแกรมตั้งไว้ได้
3. ลากคำสั่งที่ต้องการใช้เข้ามาใส่ช่องที่เพิ่มเข้ามา
4. save และ Ok



5.เปิดใช้ชุด modifier จะโชว์ขึ้นมา
6.หรือเลือก ชุด modifier อื่นๆที่โปรแกรมสร้างไว้

จบบทนี้ครับ.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น