บรรยากาศ-ความรู้สึก ในงาน Visualization

เช้า-สาย , กลางวัน ,เย็น ,กลางคืน !

อย่างที่ทราบกันดี บรรยากาศในโลกเราก็มีเท่านี้แหละครับ

ในบทนี้ขอเรียกว่า เป็นเรื่องราวผ่าน 'ความรู้สึกทางสายตา' ของผมเองนะครับ ที่สะสมจากการสังเกตแล้วลองมาใช้กับงานตัวเอง ความจริงอยากเอางานตีปหรือภาพถ่ายสวยๆของคนเก่งๆ มาวิเคราะห์เขียนดูครับ แต่เดี๋ยวจะโดนลิขสิทธิ์ ดังนั้นใช้วิธีบรรยายจากงานผมเองดีกว่าอาจไม่ได้คิดว่าถูกต้อง แต่เป็นประสบการณ์ตรง อาจมีภาพจาก google ด้วย เพื่อเอามาโม้ให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นครับ

บรรยากาศช่วง 'เช้า-สาย'

เนื่องจากเป็นแสงที่สวยเคลียร์ ตรงคอนเซปต์สุดโหล "โปร่ง โล่ง สบาย"
จึงเป็นแสงที่นิยมที่สุด จึงน่าใช้ในงานกับ Interior ทุกห้องครับ

ความรู้สึก

แสงแดดส้มอ่อนยามเช้า เจือด้วยแสงบรรยากาศของโฟตรอน ให้ความรู้สึกอยากเปิดประตูบ้านรับกลิ่นออกซิเจนจากต้นไม้  ลองมองดูสวนข้างบ้านนั่นซิ มันถูกจัดแต่งสวยงาม กลิ่นละอองจากน้ำค้างและดินโชยฟุ้งในอากาศ ตัดกับแสงแดดส่งผลให้รู้สึกถึงสีสันของรุ้งจางๆ แม้ไม่เห็นชัดได้ด้วยตาแต่ก็เห็นได้ด้วยใจและความรู้สึก ...

แนวคิดการจัดแสง

เน้นความเป็นแสงธรรมชาติ อาจมีแสงแดดเบลอๆ ลอดเข้ามาบ้าง 15-25% และมีเงาทอดของต้นไม้จางๆ อาจไม่ให้แสงแดดคมชัดและส่องเข้ามากเกินไปเพราะจะทำให้ภาพดูร้อน ส่วนเรื่องแสงประดิษฐ์เช่นดาวไลท์ หรือ โคมไฟ งานบางสไตล์ เช่น ลอฟ อินดัสเทรียล อาจเหมาะกับการปิดแสงเพื่อขับให้วัสดุดูดิบและไม่ปรุงแต่ง ส่วนงานสไตล์ที่ที่ต้องการโชว์ความหรูหราไฟวิ้งๆ ก็อาจจะต้องเปิดเพื่อให้ดูอลังการมากขึ้น


บรรยากาศเช้า-สาย ที่ 'ปิด' ดาวน์ไลท์
บรรยากาศเช้า-สาย ที่ 'ปิด' ดาวน์ไลท์
บรรยากาศเช้า-สาย ที่ 'เปิด' ดาวน์ไลท์
งานบางงานต้องการความหรูหรา และความชัดของดีไซน์มากกว่าบรรยากาศ
ในตัวอย่างภาพนี้ดีไซน์มีสีทอง จึงเปิดดาวน์ไลท์คุมโทนแสงสีเหลืองส้มเพื่อขับงานดีไซน์ และตัดด้วยบรรยากาศฟ้า-น้ำเงินอ่อน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและไม่ให้ภาพกลายเป็นสีเหลืองเกินไป

บรรยากาศช่วง 'กลางวัน' (แดดจัด)

น่าใช้กับงานประเภท simi-outdoor , exterior

ความรู้สึก

ร้อนโว้ยย ! 555  คงไม่มีใครบ้าจี้เดินเล่นชมนกชมไม้ในเวลาสิบสองนาฬิกาแน่นอน ยกเว้นแต่...จะมีร่มเงาของต้นไม้ ก็อาจพอให้เกิดอารมณ์สุนทรีย์ได้บ้าง!

ดังนั้น งานที่เหมาะกับช่วงเวลานี้ที่สุด น่าจะเป็นงานแลนสเคปที่มีต้นไม้เยอะๆ หรือสวนข้างบ้านที่เราใช้แสงเงาของแดดสร้างความน่าสนใจ 'แดดจัดตัดกับร่มเงาของต้นไม้อันร่มรื่น' น่าจะทำให้ภาพนั้นๆดูน่านั่งพัก ขับบรรยากาศของสวนให้ 'น่าซื้อ' มากขึ้นครับ

แนวคิดการจัดแสง
ใช้แดดเป็นแสงหลัก อาจมีสัดส่วน แดดจัดๆ 15-25% ร่มเงา 75-85%

การพาดแสงแดดอาจหลีกเลี่ยงพาดในส่วนที่นั่งพักผ่อนแบบแสงจ้าโดยตรง เพราะจะทำให้รู้สึกร้อนไม่น่านั่ง แต่หากพาดเป็นแสงที่ลอดจากต้นไม้นิดหน่อยก็อาจช่วยให้ภาพมีเสน่ห์ขึ้นได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับศิลปินที่ต้องการสร้างเรื่องราวให้เกิดในภาพนั้นๆ

ภาพนี้เน้นแสงลอดผ่านมาบ้างตามสัดส่วนประมาณ 15-20% ครับ เน้นจุดพักผ่อนให้เกิดร่มเงา ให้บรรยากาศน่าพักผ่อน
จังหวะแสงลอดผ่านต้นไม้จากด้านบน ทำให้เกิดแสงเงาลงบนพื้นหญ้า ช่วยให้ภาพเกิดความต่อเนื่อง ทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้น (ภาพจาก Google)
ภาพนี้เนื่องจากเป็นงานสถาปัตย์ จึงเน้นที่ตัวอาคารไม่เน้นที่ความร่มรื่น สัดส่วนของแสงภาพนี้จึงมากกว่าส่วนของเงา เพราะต้องการขับอาคารให้มีความชัดเจน โดยใช้เงาเป็นลูกเล่นระยะหน้าพื่อเบรกความร้อนจากแสงแดด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มเรื่องราวและขับส่วนอาคารให้มีความโดดเด่นขึ้น

บรรยากาศช่วงเย็น , พลบค่ำ

เหมาะกับงาน exterior , ภาพขายวิวโครงการ , สระน้ำ Pool Lounge

ความรู้สึก
ให้ส่วนผสมอารมณ์ที่หลากหลาย บรรยากาศช่วงนี้จะผูกกับกิจกรรมที่เป็นกลุ่ม เช่น
โครงการหมู่บ้าน ให้ความรู้สึกกำลังกลับบ้านพบครอบครัว ,ความอบอุ่น ,และการพักผ่อน ฯลฯ
โรงแรม-รีสอร์ท ให้ความรู้สึกพักผ่อน สนุกสนานปาร์ตี้ โรแมนติก ฯลฯ
Pool Lounge จิบค๊อกเทล ชมวิวดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า เป็นต้น

จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาพโฆษณา โครงการต่างๆ จะเน้นบรรยาศช่วงเย็นหรือพลบค่ำ เพราะให้ความรู้สึกดังที่กล่าว แถมในแง่ของสีสันก็สามารถจัดคู่สี หลากหลายสวยงาม สามารถเล่นแสงจากไฟประดิษฐ์ก็ได้ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำภาพตีปที่ง่ายต่อการมีส่วนร่วมของผู้ชมได้มาก

แนวคิดการจัดแสง

เน้นแสงบรรยากาศเป็นหลัก โดยการเลือกคู่สีที่เหมาะสม ซึ่งหลักๆก็จะไม่พ้นโทน น้ำเงิน ม่วง ส้ม แดง ซึ่งเป็นเฉดสีบรรยากาศของท้องฟ้ากลางคืนเชื่อมกับสีของตะวันตกดิน  หลังได้แสงบรรยากาศ จึงเลือกหยอดแสงจากไฟประดิษฐ์ เพื่อเน้นจุดไฮไลท์ที่สำคัญหรือจุดที่ต้องการขาย ลองชมภาพตัวอย่างครับ

ภาพนี้สมัยเริ่มงานตีปใหม่ๆ ความเนี้ยบของวัสดุยังไม่ชัด แต่ก็ยังได้เรื่องโทนสีสันมาช่วยไว้ได้มาก ภาพนี้จะใช้คู่สี น้ำเงิน-เหลือง แต่จะเพิ่มสีเขียวมาเชื่อมตรงกลางเพื่อให้บรรยากาศอบอุ่นขึ้น ท้องฟ้าเรียบสบายตาไม่ดราม่าเพื่อไม่ให้วุ่นวายจุดที่สว่างขาวราวๆ 5% เป็นเทคนิคให้ สายตาพุ่งไปที่จุดสนใจนั้นครับ
ภาพส่วนพักคอยเลือกเป็นช่วงเย็นประมาณ 4-5 โมงเย้น ที่ยังมีแสงโทนเย็นน้อย เนื่องจากโจทก์ยังขายดีไซน์ จึงต้องนำเสนอวัสดุให้ชัดใกล้เคียงสีจริง จึงเล่นเรื่องบรรยากาศไม่ได้มากครับ ถ้าปรับแสงให้พลบค่ำน่าจะได้บรรกาศที่โรแมนติกมากขึ้น

ภาพนี้งานบ้านๆบ้างครับ ยังขายดีไซน์อยู่ ลองนึกว่าเป็นกลางวันแดดจัดคงดูไม่จืด แต่พอเป็นพลบค่ำก็สามารถหยอดแสงตามจุดต่างๆได้ อาจจะเพิ่มการวางพร๊อพที่สื่อถึงกิจกรรมยามนั้น เพื่อคนดูรู้สึกร่วมไปกับภาพครับ

ภาพบรรยากาศพลบค่ำจาก google ครับ 
จะเห็นว่างานตีปหรือภาพถ่ายในช่วงนี้ ภาพวิวสำคัญมากๆมีอัตราส่วนเกินครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว ดังนั้นหลักการจัดแสง อาจจำเป็นต้องมีภาพวิวก่อน หลังจากนั้นค่อยสร้างเรื่องราวเพื่อเชื่อมต่อดึงคนดูเข้าไปร่วมในภาพให้ได้ครับ 




บรรยากาศ กลางคืน

น่าใช้กับงาน อินทีเรียร์ เช่น ห้องนอน โถงโรงแรม ผับ ห้องที่ต้องการจัดไฟหรูหรา
เอ้าดอร์ หรือ ที่นั่งชมดาว เป็นต้น

ความรู้สึก

โดยบรรยากาศน่าจะให้ความรู้สึก สงบ พักผ่อน ลึกลับ..
แต่หากผูกกับสถานที่ เช่น เที่ยวผับ ชมดาวที่รีสอร์ท หรือพักผ่อนในห้องนอน ก็อาจมีการปรุงแต่งความรู้สึกที่หลากหลายแตกต่างกันไปขึ้นกับภาพตีปที่จะขายกิจกรรมในภาพนั้นๆ

แนวคิดการจัดแสง


คงขึ้นกับว่าภาพนั้นจะขายอะไร เช่น ขายบริเวณชมดาวก็เน้นไปที่ท้องฟ้าที่มีหมู่ดาว มีกล้องดูดาว จุดเทียนบนโต๊ะนิดหน่อย 
ขายงานดีไซน์ในโรงแรม ก็เน้นที่แสงประดิษฐ์ ตบสีบรรยากาศเบรกนิดหน่อย
หรือ งานเอามันส์ๆจะเอาแนวหลอน ลึกลับก็ยังได้
โดยสรุป สร้างสรรค์ได้ตามสะดวกครับ

โถง lobby โรงแรม เน้นการจัดไฟครับ

แสงส่วน Lounge ครับตบแสงบรรยากาศ น้ำเงินม่วงตามขอบเล็กน้อย
ห้องคอนโดที่ต้องการ ขายแสง Led ด้านบน ก็จัดแสงกลางคืนให้ความรู้สึกชัดเจนกว่ากลางวันครับ

บรรยากาศส่วน outdoor บ้างครับ
ส่วนนี้ขออนุญาตินำภาพจาก google มาลองวิเคราะห์กันดูครับ
งานประมาณนี้ ไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่ แฮร่ !

คุมโทนด้วยแสงบรรยากาศสีน้ำเงิน-ม่วงถึง 70% ตัดด้วยแสงขาว ทำให้ภาพดูหรูหราร่วมสมัยเข้ากับสถาปัตย์กรรม สายตาไล่ไปจบที่แสงสีส้มบนโต๊ะสื่อถึงกิจกรรมของภาพนี้ครับ
คู่สี น้ำเงิน-ขาวส้ม ทำให้รู้สึกหรูหราทันสมัย >สีบรรยากาศประมาณ 70-80% ตัดกับแสงประดิษฐ์ 20-30% > มีจุดสว่างสุดเพื่อโฟกัสสายตา.
นี่น่าจะเป็นเทคนิคหลัก สำหรับงานภายนอก หรือ เอาท์ดอร์ ครับ ส่วนงานจัดแสงภายในก็อาจใช้วิธีสลับสัดส่วนกัน
ลองปรับคู่สี ม่วง-ส้ม รู้สึกว่ามีความเซ็กซี่โรแมนติกมากขึ้น
เขียว-เหลือง(ทอง) กลายเป็นดูลึกลับครุ่นคิด เหมือนหนังดราม่า
คู่สีนี้ในความรู้สึกผมอาจดูไม่เหมาะกับงานพวกแนวบ้านพักหรือรีสอร์ทเท่าไหร่
ที่เห็นโดยมากจึง เห็นใช้กับพวกบรรยากาศสำนักงานยามค่ำคืน หรือ พวกโรงพยาบาลมากกว่าครับ

ก็..เป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะทางสายตาครับ แล้วประสบการณ์ทางสายตาของผู้อ่านเป็นไงบ้างครับ แลกเปลี่ยนพูดคุยกันในคอมเม้นท์ได้นะครับ 

และไว้เจอกันบทความหน้าครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น